พนมฉัตร วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ http://watkhaolow.siam2web.com/

ประวัติ 

พระครูนิพัทธ์ธรรมาภรณ์ (พันธ์ สุมโน) 

เจ้าอาวาสวัดเขาล้อ เจ้าคณะตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ 

*

 

            ชาตุภูมิ

                  พระครูนิพัทธ์ธรรมาภรณ์ นามเดิม พันธ์ นามสกุล บุญยอด นามฉายา สุมโน นามโยมบิดา นายดี บุญยอด นามโยมมารดา นางกลม บุญยอด ชาติกาล เกิดวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด ตรงวันที่ 9 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2467 ณ บ้านนาแปะ-บ้านห่อง หมู่ที่ 9 บ้านเลขที่ 14 ตำบลตาโกน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 

การศึกษาเบื้องต้น 

            เมื่อปฐมวัยอายุถึงเกณฑ์การเข้าโรงเรียนประถมศึกษาก็ไม่ได้เข้าเรียนเหมือนเด็กทั่วไป เนื่องจากสถานการศึกษาของรัฐยังจัดการให้ไม่ทั่วถึง การคมนาคมก็ไม่สะดวก สถานการศึกษายังอยู่ไกลกันดารมาก คนในรุ่นนั้นสมัยนั้นจะไม่ค่อยได้มีโอกาสเข้าโรงเรียนระดับประถมศึกษา แม้ว่าจะมีอายุเข้าเกณฑ์เรียนหนังสือในระดับประถมศึกษา นอกจากพ่อแม่ผู้ปกครองจะนำเด็กเหล่านั้นไปฝากตัวไว้กับอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ จึงจะมีโอกาสเรียนหนังสือ คนรุ่นนี้จึงปรากฏว่า บางคนอ่านหนังสือไม่ออกเป็นส่วนใหญ่ ที่อ่านได้เขียนได้เพราะไปเรียนหนังสือที่วัดเป็นส่วนมาก จึงปรากฏว่า คนรุ่นนี้ในบ้านนอกอ่านหนังสือไม่ออก หลวงพ่อก็เช่นเดียวกันไม่ได้เข้าโรงเรียน ในระหว่างนั้นก็อยู่ช่วยบิดามารดาทำนาอยู่หลายปี หลังจากนั้นบิดาได้นำไปฝากเข้าเรียนอักษรสมัยที่วัดใกล้เคียงบ้านจนสามารถเรียนรู้อักษรสมัยวิธีมีการเล่าเรียนกันอยู่ในชนบทในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ยามว่างยามสิ้นทำนาก็ได้เข้าวัดอยู่บ่อย 

ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านหลวงพ่อ ได้ศึกษาอักษรไทย พร้อมทั้งอักษรขอมเป็นวลาหลายปี ได้เป็นศิษย์พระอธิการบุญมา เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ทำวัตรสวดมนต์รับใช้พระอาจารย์มาโดยตลอด  

การบรรพชา 

            ในปีพุทธศักราช 2483 อายุนับได้ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 10 ตุลาคม 2483 มีเจ้าอธิการบุญมา เป็นพระอุปัชฌาย์ วัดบ้านสามขาเจ้าคณะตำบล ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บรรพชา ณ วัดบ้านสามขา ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษนี้เอง บรรพชาเป็นสามเณรแล้วได้อยู่วัดบ้านสามขา ศึกษาพระปริยัติธรรม ศึกษาภาษาไทยและภาษาขอม ซึ่งในสมัยก่อนนั้นการเทศน์มหาชาติทุกวัดจะมีการเทศน์โดยภาษาขอมเป็นส่วนมาก จะหาหนังสือที่เป็นภาษาไทยเหมือนปัจจุบันนี้ได้ยาก หลวงพ่อจึงได้ศึกษาอยู่ที่วัดนี้มาจนถึงกาลอุปสมบทร่วมเวลา 4 ปี

 

 

อุปสมบท 

            ในปีพุทธศักราช 2487 อายุหลวงพ่อครบ 20 ปีพอดี ได้อุปสมบทต่อจากการเป็นสามเณรโดยมิได้สิขาลาเพศเป็นฆราวาสแต่ประการใด ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมา วัดบ้านตาโกน ตำบลตาโกน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก ตรงกับวันที่ 4 เดือน มิถุนายน พุทธศักราช 2487 โดยมีเจ้าอธิการบุญมา วัดบ้านสามขา เจ้าคณะตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาสิงห์ ฉายา........................วัดศรีสวาสดิ์ (ปลาซิว) วัดบ้านตาโกน ตำบลตาโกน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระครูพุทธิธรรม ฉายา เขม?กโร วัดโนนลาน ตำบลเป๊าะ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับนามฉายาในทางพุทธศาสนาว่า  “ สุมโน ” อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสามขา ตำบลเสียว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นเวลา …………….ปีต่อจากนั้นก็ได้ย้ายจากวัดสามขาไปอยู่ ณ วัดม่วงสามสิบ ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมและบาลีเป็นเวลา 5 ปี            

              ในระยะนี้หลวงพ่อได้ทราบข่าวว่าที่ใดมีสำนักเทศน์ดัง ๆ จะพยายามไปศึกษาในสถานที่ต่าง ๆ เช่น จังหวัดขอนแก่น เคยเดินทางไปแถวปักใต้เพื่อหาที่ปฎิบัติ จนในช่วงพรรษาที่ 11 หลังออกพรรษาแล้ว หลวงพ่อได้เดินทางมาเยี่ยมญาติที่หนองสะเอิ้ง ตำบลสายลำโพง อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ได้พักอยู่ที่นั่นกับญาติ ๆ บรรดาญาติโยมทางบ้านเขาล้อทราบข่าวนี้จึงปรึกษาหาลือกันนิมนต์หลวงพ่อมาอยู่ที่ วัดเขาล้อ เพราะที่วัดเจ้าอาวาสว่างพอดีหลวงพ่อจึงรับนิมนต์ตามศรัทธาของญาติโยมบ้านเขาล้อ นับแต่พรรษาที่ 12 หลวงพ่อจึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดเขาล้อ โดยรับภารธุระด้านการศึกษา การปกครอง การเผยแผ่ การก่อสร้างปฎิสังขรณ์ ปรับปรุงมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบันนี้

 

วิทยฐานะ 

พ.ศ. 2483      สอบ น.ธ. ตรี ได้ สำนักเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ ตำบนสระกำแพง อำเภอ             อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ 

พ.ศ.              สอบ น.ธ. โท ได้ สำนักเรียนวัดเวฬุวัน ตำบลไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด               อุบลราชธานี

พ.ศ. 2500      สอบ น.ธ. เอก ได้ สำนักเรียนวัดเขาล้อ ตำบลดอนคา อำเภอท่าตะโก จังหวัด นครสวรรค์

                    การศึกษาพิเศษ ได้รับวุฒิบัติการศึกษาอบรมพระอภิธรรมมาจากหน่วยพัฒนาการ ทางจิตสำนักอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2509 ความชำนานการชำนานการด้านนวกรรมเขียนแบบแปลนแผนผังควบคุมการก่อสร้าง

 

หน้าที่การปกครอง

พ.ศ. 2503        ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดเขาล้อ

พ.ศ. 2510        ดำรงตำแหน่งพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2517        ดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะตำบลดอนคา

 

ด้านการศึกษา

พ.ศ. 2494        เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรม

พ.ศ. 2498        ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการสอบธรรมสนามหลวง จนถึงปัจจุบันเป็นกรรมการตรวจ      ประโยคนักธรรมสนามหลวง จังหวัดนครสวรรค์

พ.ศ. 2503        ดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักเรียน วัดเขาล้อ

                     เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนบ้านเขาล้อ

พ.ศ. 2513        เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนบ้านพญาวัง อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2515        เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนหนองมะดัน อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2516        เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนบ้านหนองสะแกยาว เป็นกรรมการอุปถัมภ์โรงเรียนบ้าน      สามขา ต. เสียว อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ

พ.ศ. 2520        เป็นประธานกรรมการก่อสร้างโรงเรียนบ้านเขาใหญ่ อ. ไพศาลี จ. นครสวรรค์

พ.ศ. 2521        เป็นผู้อำนวยการเปิดสอนการศึกษาผู้ใหญ่ที่วัดเขาล้อ อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์

พ.ศ. 2522        เป็นประธานกรรมการก่อสร้างโรงเรียนบ้านซับลิ้นทอง อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์           

              หลวงพ่อได้พยายามส่งเสริมการศึกษาทั้งแผนกธรรม แผนกบาลี การศึกษาทางโลกเสมอมา ซึ่งมีนักเรียนสอบไล่ได้ทุกปี มากบ้าง น้อยบ้าง ตามสมควร ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าสำนักเรียนได้ตั้งปณิธานอันแน่วแน่ที่จะส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาให้เจริญรุ่งเรือง

               ปรากฏว่า การศึกษาได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับนับแต่เริ่มเป็นเจ้าอาวาสวัด เจ้าสำนักเรียนตั้งแต่ต้นจนถึงมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีพระสงฆ์สามเณรที่อยู่จำพรรษาในอารามนี้สอบได้มากนับว่าเป็นศรีสง่า เป็นเกียรติประวัติแก่สำนักเรียนและเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของหลวงพ่อ หลวงพ่อได้ช่วยประกาศพระศาสนาได้อย่างมาก ได้ช่วยสร้างคนให้มีคุณภาพ ในทางพระศาสนามากมายทีเดียว ให้คนเป็นคนดี มีศีลธรรม ประกอบอาชีพ ในทางสุจริตมามากโขทีเดียว ยังได้ช่วยชาติโดยให้เยาวชนได้มีความรู้ ความฉลาด ความสามรถ มีมารยาทอันดีงามได้ช่วยชาติและพระศาสนามากมาย

งานสาธารณูปการ

พ.ศ. 2499        เป็นประธานดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนบ้านห่อง ต. ตาโกน อ, อุทุมพรพิสัย จ.      ศรีสะเกษ

พ.ศ. 2505        ได้สร้างกุฎิ วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ 1 หลัง

พ.ศ. 2506        ได้สร้างศาลาการเปรียญ วัดสามขา ต. เสียว อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ 1 หลัง

พ.ศ. 2506        ได้สร้างกุฎิ วัดสามขา ต. เสียว อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ 1 หลัง 2 ชั้น

พ.ศ. 2509        ได้สร้างศาลาการเปรียญ วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ 1 หลัง

พ.ศ. 2509        ได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์ วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์

พ.ศ. 2510        ได้สร้างกุฎิ วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ 1 หลัง

พ.ศ. 2513        ได้ก่อสร้างโรงเรียน พระปริยัติธรรม วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ 1      หลัง 2 ชั้น

พ.ศ. 2513        ได้ก่อสร้างวัดพญาวัง, โรงเรียนบ้านพญาวัง อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2515        ได้ก่อสร้างวัดหนองมะดัน, โรงเรียนบ้านหนองมะดัน อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2516        ได้ก่อสร้างวัดหนองสะแกยาว, โรงเรียนหนองสะแกยาว อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2516        ได้ก่อสร้าง โรงเรียนบ้านสามขา ต. เสียว อ. อุทุมพรพิสัย จ. ศรีสะเกษ 1 หลัง

พ.ศ. 2518        สร้างกุฎิอาคารตึก หลังหนึ่ง ลักษณะสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐถือปูนพื้นสองชั้น      หลังคามุงด้วยกระเบื้องปูนลอนเล็กกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น      300,000 บาท

พ.ศ. 2519        เป็นกรรมการที่ปรึกษางานผูกพัทธสีมา วัดสามัคยาราม อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์

พ.ศ. 2519        ได้ก่อสร้างวัดเขาใหญ่ ต. วังน้ำลัด อ. ไพศาลี จ. นครสวรรค์

พ.ศ. 2520        ได้เป็นประธานก่อสร้างโรงเรียนบ้านเขาใหญ่ ต. วังน้ำลัด อ. ไพศาลี จ. นครสวรรค์

พ.ศ. 2520        ได้ก่อสร้างกุฎิ 1 หลัง ลักษณะพื้นคอนกรีตชั้นเดี่ยวสูง 0.50 เมตร หลังคามุงด้วยสังกะสี      ชุบสีลอนเล็กกว้าง 9 เมตร ยาว 9 เมตรค่าก่อสร้าง 38,000 บาท

พ.ศ. 2520        ได้ก่อสร้าง วัดซับไม้แดง ต. ซับไม้แดง อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2520        ได้ก่อสร้างกุฎิ วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ 4 ห้อง 1 หลัง ลักษณะ      ยกพื้นสูง เสาคอนกรีต เสริมเหล็กต่อเสาไม้เนื้อแข็ง เครื่องประกอบอื่นใช้ไม้เนื้อแข็ง      หลังคามุงด้วยสังกะสีลอนเล็ก กว้าง 5.50 เมตร ยาว 12 เมตร รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น      52,000 บาท

พ.ศ. 2521        สร้างกุฎิ 5 ห้อง 1 หลัง ลักษณะยกพื้นสูง เสาคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไม้เนื้อแข็ง เครื่อง      ประกอบอื่นใช้ไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงด้วยสังกะสีชุบสีลอน กว้าง 5.50 เมตร ยาว 15      เมตร รวมค่าก่อสร้าง 61,000 บาท

พ.ศ. 2521        สร้างวัดซับลิ้นทอง ต. พญาวัง อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2521        สร้างวัดห้วยตะกั่ว ต. วังพิกุล อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2522        สร้างโรงเรียนซับลิ้นทอง ต. พญาวัง อ. บึงสามพัน จ. เพชรบูรณ์

พ.ศ. 2522        สร้างกุฏิ 5 ห้อง 2 หลัง ลักษณะยกพื้นสูง เสาคอนกรีตเสริมเหล็กต่อเสาไม้เนื้อแข็ง      เครื่องประกอบอื่นใช้ไม้เนื้อแข็งหลังคามุงด้วยสังกะสีชุบสีลอนเล็ก กว้าง 5.50 เมตร      ยาว 15 เมตรรวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 130,000 บาท

                 สร้างมณฑปเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุบนยอดภูเขาใหญ่  1 หลัง ลักษณะทรงยอดปราสาทกว้างยาวบริเวณพื้นที่กลม คิดเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น 81 ตารางเมตร สูงจากพื้นถึงยอด 23 เมตร หลังคาลงลักติดกระจกปิดทอง รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 1,600,000 บาท

                 สร้างศาลาการเปรียญ  1 หลัง ติดกับเชิงมณฑป ลักษณะพื้นคอนกรีตชั้นเดียวสูง 0.60 เมตร เสาคอนกรีต หลังคามุงด้วยสังกะสี กว้าง 12 เมตร ยอด 22 เมตร  รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 150,000 บาท

                 จัดสร้างถนนลูกรังขึ้นสู่มณฑปบนยอดภูเขา 2 สาย กว้าง  3 เมตร สายหนึ่งขึ้นทางด้านวัดเขาล้อ ยาว 1.2 กิโลเมตร สายหนึ่งขึ้นทางวัดสระโบสถ์ผ่านถนนสายท่าตะโก-ไพศาลี ยาว 1.5 กิโลเมตร โดยอาศัยแรงชาวบ้านและจ้างรถแทรคเตอร์ จากเงินบริจาคและเงินส่วนตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 700,000 บาท

พ.ศ. 2523        สร้างกุฏิ 5 ห้อง  1 หลัง วัดเขาล้อ ต. ดอนคา อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ ลักษณะเสา      คอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง 4.5 เมตร ยาว 15 เมตร ค่าก่อสร้าง 60,000 บาท

พ.ศ. 2524        สร้างศาลาที่วัดเขาล้อ โดยรื้อศาลาการเปรียญหลังเก่า มาปลูกสร้างใหม่เป็นศาลาไม้      เป็นหลังที่  2 ต่อจากศาลาการเปรียญหลังที่เดิม

พ.ศ. ๒๕๒๔       สร้างศาลาที่วัดเขาล้อ โดยรื้อศาลาการเปรียญหลังเก่า มาปลูกสร้างใหม่ เป็นศาลาไม้               เป็นหลังที่ ๒ ต่อจาก ศาลาการเปรียญหลังที่เดิม

พ.ศ. ๒๕๒๕       สร้างศาลาการเปรียญ ที่วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ โดยรื้อจากศาลา      หลังเดิมเป็นลักษณะศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้

พ.ศ. ๒๕๒๔       ได้หล่อลองทอง ซึ่งนำไปประจำไว้บนเขาพนมฉัตร วัดเขาล้อ ต. ดอนคา  อ.ท่าตะโก      จ.นครสวรรค์ ตีค่าสร้าง ๑๒๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๕       ได้หล่อโปงทอง มีความหนักมาก ไว้บนเขาพนมฉัตร วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก      จ.นครสวรรค์ ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๖       ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ บนยอดเขาพนมฉัตร เชิงมณฑป วัดเขาล้อ ต. ดอนคา      อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรรค์ สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  ๓๐,๐๐๐ บาท มีการบำเพ็ญ                          สาธารณประโยชน์ มีการนำ พ.ศ. 2524   สร้างศาลาที่วัดเขาล้อ โดยรื้อศาลา                          การเปรียญหลังเก่า มาปลูกสร้างใหม่เป็นศาลาไม้ เป็นหลังที่  2 ต่อจากศาลาการเปรียญ      หลังที่เดิม

พ.ศ. ๒๕๒๔      สร้างศาลาที่วัดเขาล้อ โดยรื้อศาลาการเปรียญหลังเก่า มาปลูกสร้างใหม่ เป็นศาลาไม้      เป็นหลังที่ ๒ ต่อจาก ศาลาการเปรียญหลังที่เดิม

พ.ศ. ๒๕๒๕      สร้างศาลาการเปรียญ ที่วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ โดยรื้อจากศาลา     หลังเดิมเป็นลักษณะศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้

พ.ศ. ๒๕๒๔     ได้หล่อลองทอง ซึ่งนำไปประจำไว้บนเขาพนมฉัตร วัดเขาล้อ ต. ดอนคา  อ.ท่าตะโก จ.     นครสวรรค์ ตีค่าสร้าง ๑๒๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๕     ได้หล่อโปงทอง มีความหนักมาก ไว้บนเขาพนมฉัตร วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก    จ.นครสวรรค์ ค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๑๐๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ. ๒๕๒๖     ได้ก่อสร้างศาลาการเปรียญ บนยอดเขาพนมฉัตร เชิงมณฑป วัดเขาล้อ ต. ดอนคา    อ.ท่าตะโก จ.ประชาชนปรับปรุงถนนหนทางด้วยลูกรัง กว้าง ๕.๕๐ เมตร ยาว ๒ กิโลเมตร    จากหมู่บ้านเขาล้อออกสู่ถนนใหญ่สายท่าตะโก-หนองบัว เป็นประจำทุกปี

การพัฒนาวัด  

        จัดเกรดพี้นที่บริเวณกุฎีที่สร้างใหม่ ๖หลัง บนเชิงเขาให้เรียนร้อยสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับจำนวนกุฎีที่ได้จัดสร้างขึ้น

        จัดทำความสะอาดพระอุโบสถ โรงเรียนปริยัติธรรม และศาลาการเปรียญธรรม ตลอดพื้นที่บริเวณวัดทั่วๆไป เป็นประจำทุกปี

        จัดขุดลอกสระน้ำภายในวัด – บริเวณใกล้เคียงวัด – บ้านในฤดูแล้งเพื่อให้เก็บน้ำได้มาก

        จัดให้มีการต่อไฟฟ้าเข้าวัดเพื่อสะดวกแก่ พระสงฆ์ สามเณร ที่ศึกษาเล่าเรียนในเวลากลางคืน อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ที่เข้ารักษาศีลฟังธรรมประจำอยู่ที่วัดประจำ

            หลวงพ่อยังได้รับเอาเป็นภาระธุระ ในการควบคุมดูแลระวังรักษา ถาวร วัตถุสิ่งก่อสร้างทั่วทั้งอารามเป็นอย่างดียิ่ง ได้ทำการบูรณะปฎิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมเสียหายให้กลับคืนดีมีสภาพมั่นคงถาวรงดงามเหมือนอย่างเดิม ได้ก่อสร้างสิ่งที่ไม่มีให้เกิดมีขึ้นในพระอาราม และหลวงพ่อยังทำความเจริญทางด้านวัตถุ-ทางด้านจิตใจไปสู่ที่อื่นมากมาย ยังได้สละปัจจัยส่วนตัวสร้างโดยไม่เคยมีเงินฝากกับธนาคารหรือใครทั้งสิ้น หวังเพียงเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์เป็นที่ประกอบคุณงามความดีเป็นสำคัญ

            หลวงพ่อเป็นนักพัฒนา ได้นำความาเจริญเข้าสู่หมู่บ้านและอำเภอเป็นอย่างมากทั้งยังเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลได้อีกทางหนึ่ง นอกจากจะบริหารกิจการคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว ยังเป็นผู้เสียสละและได้เป็นผู้นำคณะสงฆ์ พร้อมทั้ง กับเชิญชวนประชาชนก่อสร้างถาวรวัตถุ อันเป็นสาธารณะกุศลไว้หลายที่ หลวงพ่อยังได้เป็นผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์นานับประการแก่ประเทศชาติศาสนา และพระมหากษัตริย์

            ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ นี้ตรงกับปีที่หลวงพ่อมีอายุครบ ๕ รอบ ๖๐ ปี ได้มีโครงการตั้งธนาคารข้าวขึ้นที่ วัดเขาล้อ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ประชาชนที่ยากจน มีหนี้มีสิน ทำนาประสบปัญหาต่าง ๆ ได้พึ่งพาอาศัย ธนาคารข้าวนี้

การเผยแผ่

            หลวงพ่อ เป็นผู้พูดรู้ใจผู้ฟังเป็นอย่างดี มีปฎิภาณ โวหารดี โดยเฉพาะในทางแสดงธรรม ปาฐกถาธรรม บรรยายธรรมได้ดีทุกโอกาส สามารถทำให้ผู้ฟังเกิดความอาจหาญร่าเริงไม่ง่วงเหงา เป็นผู้พูดตรงไปและก็ตรงมา จึงเป็นที่นิยมศรัทธา ชมชอบชองทุกท่าน

พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นผู้อบรมศีลธรรมประจำโรงเรียนประชาบาล บ้านเขาล้อ

พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นพระวิปัสสนาจารย์ประจำสำนัก วิปัสสนา วัดเขาล้อ

พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นพระธรรมทูต ประจำอำเภอ ท่าตะโก ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน และร่วมมือกับทางราชการ ชี้แจง อำนวยความสะดวกให้

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลดอนคา (อ.ป.ต.)

พ.ศ. ๒๔๒๒ จัดประชุมธรรม ที่วัดเขาล้อ เป็นประจำทุกปี ในระหว่าง เดือนสิงหาคมของทุกปี

พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๗ เป็นผู้อุปถัมภ์การจัดประชุมธรรมที่วัดสระโบสถ์ ตำบลดอนคา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ พร้อมทั้งเป็นผู้อุปถัมภ์การประชุมธรรมที่วัดอื่นๆ ด้วย          

            ในเทศกาลเข้าพรรษาทุกพรรษา จะมีการแสดงพระธรรมที่วัดประจำทุกวันจนออกพรรษา หลวงพ่อยังเป็นวิทยากรบรรยายธรรมตามวัดต่างๆ มิได้ขาด เช่น งานประชุมธรรมงานอบรมพระนวก และเป็นพระอาจารย์กรรมในสถานที่มีการจัดปริวาสต่างๆ

 

ปฎิปทาพิเศษ

            หลวงพ่อมีปฏิปทาพิเศษ คือ ไม่ถือตัว พูดจาสนทนาได้กับทุกคน แม้กระทั่งเด็กผู้ใหญ่ และผู้เฒ่าผู้แก่ จำคนได้แม่นยำ ใจเย็น เป็นที่พึ่งได้ทุกคน กรณียกิจที่พิเศษปรากฎจนเป็นที่ประจักษ์ คือ การสวดมนต์ไหว้พระ เช้า-เย็น จะไม่ขาด เว้นแต่จะมีธุระจริงๆ การเสียสละ ปกติจะบริจาควัตถุสิ่งของเพื่อการกุศลเสมอไม่เลือกสถานที่ เครื่องบริขารต่างๆ ที่ได้มาจากศรัทธาของญาติโยมโดยมากจะทอดผ้าป่า ทอดกฐิน ทำบุญอื่นๆ มิได้ขาด โยมที่นิมนต์หลวงพ่อไปเป็นประธานในการจัดงานต่างๆ เสมอ ปัจจัยต่างๆ ที่ได้รับจากในที่นั้นจะถวายไว้ที่นั้นเสมอ หลวงพ่อได้เคยร่วมตั้ง มูลนิธิในวัดต่างๆ ไว้มาก

            หลวงพ่อได้รวบรวมจตุปัจจัยที่ได้จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระ เช่น นั่งอุปัชฌาย์ในวัดนอกวัดกิจนิมนต์ อื่นๆ ไว้ใช้จ่ายโดยส่วนรวม โดยไม่นำไปใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นโดยหวังประโยชน์ส่วนตัว การส่งเคราะห์เสมอกันหมด ด้วยปฏิปทาและกรณียกิจที่พิเศษของหลวงพ่อนี้ ศิษยานุศิษย์ตลอดจนสาธุชนทั้งหลายจึงเทิดทูนในอุปการะคุณโดยมิได้เสื่อมคลาย

งานพิเศษ

       ได้มีกิจกรรมพิเศษในวันสำคัญทางพระศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาฬหบูชา ในระหว่างพระภิกษุสามเณร และประชาชน เช่น การปฏิบัติธรรม อบรมพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ครูนักเรียน ประชาชน ให้รู้จักรับผิดชอบชั่วดี

       มีการร่วมมือกับคณะสงฆ์หรือทางราชการในการเผยแผ่ ความรู้ในเรื่องต่างๆ และได้เข้ามีส่วนร่วมการประชุมกับทางการคณะสงฆ์ที่อำเภอ หรือที่จังหวัดตามโอกาสที่ได้รับคำสั่ง เช่น ประชุมเจ้าอาวาส หรือเจ้าคณะตำบลในเขตอำเภอและจังหวัด หรือการประชุมอื่นๆ ใดที่ทางการคณะสงฆ์หรือทางราชการได้จัดขึ้น

สมณศักดิ์

            สมณศักด์เป็นเครื่องวัดผลงานของหลวงพ่อได้เป็นอย่างดียิ่ง  จากผลงานที่ได้รับภาระธุระมาด้วยความอุตสาหะ วิริยะเป็นอย่างดีดังกล่าวแล้ว จึงเป็นเหตุสนับสนุน ส่งเสริมให้หลวงพ่อมีความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ได้รับการยกย่องให้มีสมณศักดิ์ประดับเกียรติประวัติ โดยได้รับความไว้วางพระทัย วางใจ จากผู้บังคับบัญชา จึงได้รับสมณศักดิ์มีวาระโดยลำดับ คือ

พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นฐานะนุกรมที่พระสมุห์

พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูชั้นประทวน

พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี มีพระราชทินนามว่า พระครูนิพัทธะร        รมาภรณ์

พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นโท มีพระราชทินนามว่า พระครูนิพัทธ์ธร รมาภรณ์ เดิม

            บัดนี้ คณะศิษยานุศิษย์ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ รู้สึกสำนึก ในพระคุณของหลวงพ่อที่สงเคราะห์อนุเคราะห์ ทั้งทางวัตถุ ทั้งทางธรรมคือ ความรู้ที่เป็นทั้งคดีโลกและที่เป็นทั้งคดีธรรมมาจวบจนอายุของหลวงพ่อครบ ๕ รอบ คือ ๖๐ ปี คณะศิษยานุศิษย์รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณของหลวงพ่อ เนื่องในวันครบรอบ ๖๐ ปีของหลวงพ่อนี้ จึงได้จัดงานบำเพ็ญกุศลร่วมกับหลวงพ่อ เพื่อบูชาสักการะพระคุณ จึงได้ของตั้งกัลยาณจิต ของอาราธนาเอาคุณพระศรรีรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเดชบุญญาบารมีทั้งที่มีอยู่ในโลก พร้อมทั้งบุญกุศลที่ศิษยานุศิษย์ได้บำเพ็ญมาแล้วในอดีตปัจจุบัน จงดลบันดาลให้หลวงพ่อ จงประสพแด่ ความสวัสดี ปราศจากโรคภัยพิบัติอุบัติอันตรายทั้งปวง มีความเกษมสำราญ ในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ เทอญ

              พระครูนิพัทธ์ธรรมาภรณ์ (พันธ์ สุมโน)ได้อาพาธด้วยโรคชราภาพ พักรักษาตัวอยู่ที่ศรีสะเกษ พระอาการอาพาธเริ่มทรุดจึงย้ายท่านเข้ารักษาตัวที่กรุงเทพฯ เดินทางถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ.2555 เวลา 20.39 น. ตึกวชิรญาณ ชั้น 4 พักรักษาตัวจนถึงเช้าของวันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 01.15 น.ได้สละสังขาร ขณะนี้ได้ตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่บ้านดอนคา ณ วัดเขาล้อ อ. ท่าตะโก จ. นครสวรรค์ บำเพ็ญกุศลครบ 100 วันในวันที่ 22 เมษายน 2555 นี้







Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 42,172 Today: 2 PageView/Month: 96

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...